ขอนแก่น ควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกา(ASF)ในสุกร

ขอนแก่น ควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกา(ASF)ในสุกร

นายชาญประเสริฐ พลชา ปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ตามที่      กรมปศุสัตว์ประกาศพบโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในประเทศไทยและนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) รวมทั้งแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน จากกรณีเนื้อสุกรชําหละมีราคาสูง ประกอบกับจังหวัดขอนแก่นพบโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ในหมูป่า จํานวน 1 ฟาร์ม ในพื้นที่ตําบลกุดกว้าง อําเภอหนองเรือ  เพื่อควบคุม ป้องกันโรคดังกล่าว
จังหวัดขอนแก่นได้ดําเนินการเฝ้าระวังในทุกพื้นที่ โดยมีมาตรการประกอบด้วยการขอความร่วมมือสถานประกอบการ ร้านอาหาร โรงแรม ตลาด ครัวเรือนทั่วไป ไม่จําหน่าย/จ่าย/แจก เศษ อาหารให้นําไปเลี้ยงสุกร  การอบรมให้ความรู้การป้องกันและการควบคุมโรคสําคัญในสุกรและ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร แก่เกษตรกร ผู้เลี้ยงสุกร ส่งเสริมแนะนําให้เกษตรกรปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มให้มีประสิทธิภาพ หากพบสุกรป่วยหรือสงสัยโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เพื่อควบคุมการระบาดของโรคได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ทางจังหวัดขอนแก่นได้มีประกาศห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ชนิดสุกรและหมูป่าเข้า ออก ผ่าน หรือภายในเขตเฝ้าระวังโรค ระบาดเว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบประจําเขตนั้นทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้าย

ปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น ยังกล่าวว่ากรมปศุสัตว์ได้กําหนดนิยามโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเพื่อเฝ้าระวังโรค คือ เป็นสุกรหรือหมูป่าที่เลี้ยงแบบระบบฟาร์มมีอัตราการตายแบบเฉียบพลันมากกว่าร้อยละ   3  ใน 1 วัน หรือฟาร์มรายย่อยที่มีจํานวนสุกรหรือหมูป่าน้อย กว่า 50 ตัว มีอัตราการตายเฉียบพลันตั้งแต่    1 ตัวขึ้นไปใน 1 วัน หรือมีอาการ ไข้สูง ไอ แท้ง ขาหลังไม่มีแรง หรือ นอนสุมกันร่วมกับท้องเสียเป็นเลือด หรือผิวหนังแดง หรือมีจุดเลือดออก หรือรอยช้ําโดยเฉพาะใบหู ท้อง หรือขาหลัง” จึงขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรหมั่นสังเกตอาการสัตว์อย่างใกล้ชิด หากพบสุกรป่วยตาย ตามนิยามโรค สามารถแจ้งผู้ใหญ่บ้าน กํานัน อาสาปศุสัตว์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที

และขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้เลี้ยง  ผู้จําหน่าย ผู้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งครอบครองสุกรมีชีวิตตั้งแต่ 500 ตัวขึ้นไป และ  ผู้ครอบครองสุกรชําแหละผ่าซีก เนื้อสุกรชําแหละแยกชิ้นส่วน ที่มีปริมาณรวมกันตั้งแต่ห้าพันกิโลกรัมขึ้นไปในพื้นที่ ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๕ เรื่อง การ แจ้งปริมาณ ราคา สถานที่เก็บ และจัดทําบัญชีคุมสินค้าสุกร เนื้อสุกร



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น