พนักงานการแพทย์ รพ.ศรีนครินทร์ มข.น้ำใจงาม เก็บสร้อยข้อมือ ทองคำได้ 1 บาทคืนเจ้าของ

พนักงานการแพทย์ รพ.ศรีนครินทร์ มข.น้ำใจงาม เก็บสร้อยข้อมือ ทองคำได้ 1 บาทคืนเจ้าของ

พนักงานการแพทย์ รพ.ศรีนครินทร์ เก็บสร้อยข้อมือ ทองคำได้ 1 บาทคืนเจ้าของ คนแบบนี้ที่สังคมต้องการ แม้เงินเดือนเจ้าตัวจะน้อยนิด แต่หัวอกคนทำของหาย ย่อมสำคัญกว่า
เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2567 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น รายงานว่า ต่อกรณีที่ผู้มีใช้นาม Facebook ว่าคุณนายแดง จิตแจ่มใส ได้โพสต์ข้อความว่า#ความดีที่อยากเล่า จนท คุณ Tumrat Arsapa เก็บทอง ได้ 1 บาท ที่ห้องตรวจรังสีรักษา ได้ตามหาและส่งคืนเจ้าของ#คุณป้าดีใจมากที่ได้ทองคืน# เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว จึงได้ลงพื้นที่ ภาควิชารังสีเทคนิค โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อขอสัมภาษณ์ น.ส.ปทุมรัตน์ อาสาภา พนักงานการแพทย์ สังกัดห้องตรวจรังสีรักษา พี่เก็บสร้อยข้อมือทองคำ ได้ ซึ่งมีหัวหน้าพยาบาลชื่อนางจันทร์เพ็ญศรีสงคราม หัวหน้าห้องตรวจรังสีรักษา โดยมีรศ.นพ. ศรีชัย ครุสันธิ์ หน่วยรังสีรักษา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล ร่วมแสดงความชื่นชม


เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว นางจันทร์เพ็ญ ศรีสงครามหัวหน้าห้องตรวจรังสีรักษา ได้พูดให้สื่อมวลชน ฟัง เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มีพนักงานการแพทย์ ซึ่งสังกัดในหน่วยงานนี้ ที่เก็บของมีค่าได้แล้วนำคืนให่กับผู้ที่ทำของหาย ว่า เป็นเรื่องเมื่อวันที่ 22 ก.พ.67 ในช่วงเวลาเช้า น.ส.ปทุมรัตน์ อาสาภา พนักงานการแพทย์ สังกัดห้องตรวจรังสีรักษา ได้มาแจ้งว่าเก็บสร้อยข้อมือ ทองคำได้จำนวน 1 เส้น จึงนำเอาสร้อยข้อมือทองคำ เส้นดังกล่าวเอามารายงานหัวหน้าห้องตรวจ กเสร็จแล้วจึงได้ พยายามตามหาเจ้าของ ซึ่งอาจจะเป็นญาติหรือว่าผู้ป่วย พยายามตามหากันว่ามันเป็นของใคร ช่วยกันประกาศประกาศ ในพื้นที่เพราะว่าน่าจะเป็นคนไข้ที่เป็นคนไข้ฉายแสงหรือไม่ก็เป็นของญาติ เพราะว่าเป็นจุดที่พบสร้อยข้อมือทองคำ


การตามหาเจ้าของสร้อยข้อมือทองคำ เพราะ ตรงนี้เราเห็นความสำคัญว่าคนไข้ที่มาฉายแสงของเรา ในเรื่องของสถานการณ์เงินค่อนข้างจะขัดสน เพราะต้องมีค่าใช้จ่าย รักษาอย่างยืดเยื้อยาวนาน เพราะว่าเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง แล้วพอเห็นทองหายเขาคงจะเสียใจมาก ดังนั้นพวกเราจึงพยายามกันช่วยกันทุกคน ไม่ใช่ว่าแค่ตัวหัวหน้าห้องตรวจ เจ้าหน้าที่ในทีมทั้งหมด ได้ช่วยกันตามหาว่าทองเป็นของใค สุดท้ายคนไข้ ที่มารักษาพร้อมญาติ ก็มาแสดงตัว ซึ่งเป็นของญาติคนไข้ที่พาคนไข้มาฉายแสง มาแสดงตัวว่า คือเจ้าของ สร้อยแขนทองคำดังกล่าว ซึ่งทางเราได้ซักถามตามหลักการสืบสวนเลยว่าให้ของที่หายมีลักษณะอย่างไหร ของที่หายเป็นสิ่งที่ยังไง คือเราจะสอบถามแล้วก็คุณป้าก็บอกได้ถูกต้องก็เลยมอบมอบทองไป ในตอนที่มอบทอง คุณป้าได้พยายามจะให้สิ่งตอบแทนพวกเรา ซึ่งในตรงนั้นเราก็ปฏิเสธไป คุณป้าเจ้าของสร้อยแขนทอง ดังกล่าว ได้ขอบคุณ แสดงอากาดีใจมากเหมือนแบบจะร้องไห้จะร้องไห้ พอเห็นภาพตรงนั้นที่คนไข้ร้องไห้ และญาติก็ร้องไห้ เรารู้สึกว่าสิ่งที่แบบคือมันเต็ม ตื้นตันในหัวใจ


ในส่วนที่เราเป็นหัวหน้าห้องตรวจ ซึ่งเรามีพี่ มีน้องที่เป็นพนักงานการแพทย์ อาทิคุณพี่ปทุมรัตน์ อาสาภา พนักงานการแพทย์ สังกัดห้องตรวจรังสีรักษาถามว่าพนักงานการแพทย์เงินเดือน เขาก็ไม่ได้เยอะรายได้ยังไม่ถึงหมื่นด้วยซ้ำ ในทุกเรื่องราวตั้งแต่ทำงานด้วยกันมาแล้ว ที่สำคัญคือพี่เป็นคนมีความซื่อสัตย์มาก พอเห็นตรงนั้นเนี่ยคือในส่วนที่เป็นหัวหน้านี่คือชื่นใจ และขอบคุณมาก เพราะคนแบบนี้ที่สังคมต้องการ แม้เงินเดือนเจ้าตัวจะน้อยนิด แต่หัวอกคนทำของหาย ย่อมสำคัญกว่า
น.ส.ปทุมรัตน์ อาสาภา พนักงานการแพทย์ สังกัดห้องตรวจรังสีรักษา กล่าวว่า ตนเองมีหน้าที่เชิญคนไข้เข้าพบแพทย์ ตลอด ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้ดูตลอดว่าคนไข้รถนั่ง รถนอน ตลอดจนคนไข้ที่นั่งรออยู่แล้ว จวบจนคนไข้ใกล้จะหมดแล้ว จึงเหลือบไปเห็น สร้อยวางอยู่นี่ มันเป็นของใครที่ทำหล่น ก็เลยหยิบขึ้นมา เลยรู้ว่ามันเป็นสร้อยทองคำ ตอนแรก ได้ถามคนไข้บริเวณนั้นว่า มีใครทำอะไรหล่นไหม ปรากฎว่าไม่มี แสดงตนว่าทำของหล่นไว้ จึงเดินไปบอกว่าหัวหน้าห้องตรวจ ว่าไม่ทราบว่าใครทำทองหรืออะไรไม่รู้หล่นไว้ ให้ช่วยตามหาให้หน่อย
จากนั้น นางจันทร์เพ็ญ ศรีสงครามหัวหน้าห้องตรวจรังสีรักษา ได้วางแผนให้ ตามหาเจ้าของ ทุกคน ที่เข้ามาตรวจรักษาในวันนี้ พร้อมทั้งได้ถามอาจารย์ที่ตรวจอยู่ ก็ไม่ใช่ ถามหมดเลย จนสุดท้ายพบคนที่น่าสงสัย เพราะว่าเขาเป็นคนไข้ ที่มากับญาติ 2 คน เพื่อขอคำ ติดตามอาการรักษาจากแพทย์ ให้คำแนะนำ เสร็จแล้วไม่ทราบว่ากลับหรือยัง หัวหน้าห้องตรวจ ก็เลยโทรตามให้ มาดู สร้อยคอทองคำเส้นดังกล่าว ซึ่งคนแรกบอกไม่ใช่ ต่อมาอีกท่านหนึ่ง บอกรูปพันสันฐาน ของสร้อยได้ถูกต้อง ซึ่งเป็นญาติของคนไข้ที่มารักษา
” ถึงแม้ตนเองมีรายได้น้อยไม่ถึง 10,000 บาท กับราคาทองซึ่งปัจจุบันนี้ 30,000 กว่าบาท นึกถึงจิตใจของเขาว่า เขาทำของหล่นหาย คงรู้สึกเสียดายและเสียใจ ดังนั้น เราไม่ต้องไปซ้ำเติมเขา ทำไหมเราต้องไปเอาของเขามา มันไม่ใช่ของเราก็ไม่ต้องเอา ต้องหาคนเจ้าของให้ได้ต้องคืนเจ้าของเขาไป นี่คือความคิดของตนเอง”น.ส.ปทุมรัตน์ กล่าว.



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น