อธิบดีกรมสุขภาพ เปิดประชุมวิชาการนานาชาติการป้องกันการฆ่าตัวตาย ที่ จ.ขอนแก่น

13 กรกฏาคม 2560  ที่โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น นายแพทย์ บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต  ได้เป็นประธานเปิดประชุมวิชาการนานาชาติการป้องกันการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2 innovation and intervention in mental model ประจำปี ทั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานนวัตกรรมองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการป้องกันการฆ่าตัวตาย และเกิดการร่วมมือ ด้านวิชาการในเขตภูมิภาคอาเซียน

นายแพทย์ บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การประชุมนานาชาติ ว่าด้วยเรื่อง การป้องกันการฆ่าตัวตาย และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการป้องกันการฆ่าตัวตายในประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนในครั้งนี้  จะเป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทย ในการที่จะได้รับทราบวิธีการ และมาตรการ ในการป้องกันการฆ่าตัวตาย ที่มีผล สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย นั้น ขณะนี้พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ อยู่ที่ประมาณ 5 คน ต่อประชากร 1 แสนคน ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับทั่วโลก ประเทศไทยอยู่ในระดับกลาง

ปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้นำไปสู่ภาวะการฆ่าตัวตายสำเร็จมากขึ้น เช่น ความสูญเสีย ความโศกเศร้า โดยเฉพาะเรื่องสารเสพติดที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำให้สุขภาพจิตเปลี่ยนแปลงไป และโดยเฉพาะเรื่องการสูญเสียขณะนี้พบว่า แนวโน้มของการสูญเสียบุคคลที่รัก เคารพ และนับถือ จนนำมาสู่ความรู้สึกโศกเศร้า และสูญเสีย จะเป็นความเสี่ยง ที่นำมาซึ่งการฆ่าตัวตาย แต่เดิมเรามักไม่ได้สังเกตว่า คนที่จะมีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การทำร้ายตนเองเป็นอย่างไร ขณะนี้กรมสุขภาพจิตได้เริ่มที่จะให้มีการได้สังเกตอาการของคนรอบข้างที่มีอาการซึมเศร้าและปลีกตัว หรือมีคำพูดต่าง ๆ ที่บ่งบอกว่าเบื่อชีวิต หรือไม่ค่อยอยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไป เพื่อให้คนรอบข้างได้สังเกต โดยเฉพาะในกลุ่มนี้จะมีภาวะซึมเศร้าซึ่งเมื่อพบว่ามีลักษณะที่เข้าข่าย จะเข้าไปพูดคุย และนำมาสู่การดูแลรักษา โดยมีแบบคัดกรองเพื่อประเมินภาวะซึมเศร้าของคนที่มีอาการนี้ว่ามีความรุนแรงในระดับใด หากประเมินแล้วพบว่ามีความรุนแรง จนอาจนำไปสู่การทำร้ายตนเอง จะนำเข้าสู่การรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งเรียกว่าแบบประเมินภาวะซึมเศร้า ขณะนี้ได้เริ่มนำมาใช้ในชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขรวมทั้ง อสม. สามารถที่จะไปประเมินความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้

ในประเทศไทยพบว่า กลุ่มที่มีความเสี่ยงจะอยู่ในกลุ่มวัยกลางคน รวมทั้งวัยทำงาน โดยมีแนวโน้มว่าจะเป็นผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งผู้สูงอายุมีภาวะที่ถูกทอดทิ้ง และรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะการทำร้ายตนเองได้สูงส่วนพฤติกรรมในการทำร้ายตนเอง หากเราหมั่นสังเกตจะมีหลายสาเหตุ ทั้งการทำร้ายตนเองในภาวะกะทันหัน เฉพาะหน้า อาจจะยิงหรือทำร้ายตนเองกะทันหัน และในกลุ่มที่มีการไตร่ตรองหรือมีภาวะเจ็บไข้ได้ป่วยมาตลอดจะใช้วิธีการที่ไม่รุนแรงและซับซ้อนมาก เช่น กินยา หรือการผูกคอ และในขณะเดียวกันพบว่า รูปแบบในการฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตนเองยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก

มีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้นำไปสู่ภาวะการฆ่าตัวตายสำเร็จมากขึ้น เช่น ความสูญเสีย ความโศกเศร้า โดยเฉพาะเรื่องสารเสพติดที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำให้สุขภาพจิตเปลี่ยนแปลงไป และโดยเฉพาะเรื่องการสูญเสียขณะนี้พบว่า แนวโน้มของการสูญเสียบุคคลที่รัก เคารพ และนับถือ จนนำมาสู่ความรู้สึกโศกเศร้า และสูญเสีย จะเป็นความเสี่ยง ที่นำมาซึ่งการฆ่าตัวตาย

ชมคลิป วีดีโอ ครับ



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น