อบจ.ขอนแก่น” จัดโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ อ.กระนวน

อบจ.ขอนแก่น” จัดโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ อ.กระนวน

เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยและประโยชน์ที่ได้รับจากการมีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะของท้องถิ่น อีกทั้งเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมเสนอปัญหาและความต้องการของประชาชน ตลอดจนกำหนดแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ตามหลักประชาธิปไตย


เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 4 มีนาคม 2567 ที่ หอประชุมโรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ อ.กระนวน จ.ขอนแก่น ดร.พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อ.กระนวน จำนวน 400 คน ในโอกาสนี้มี นายสิทธิกุล ภูคำวงศ์ รองนายก อบจ.ขอนแก่น พร้อมด้วย นายจรูญ อ่วยนอก รองประธานสภา อบจ.ขอนแก่น คนที่ 2, นายเพ็ชร มูลป้อม ที่ปรึกษานายก อบจ.ขอนแก่น, นายเอกชัย สืบสารคาม ส.อบจ.ขอนแก่น อ.กระนวน เขต 1, นายตระกูล เจริญเชื้อ ส.อบจ.ขอนแก่น อ.กระนวน เขต 2, นางสุภลักษณ์ ดียิ่ง ผอ. รร.หนองโนประชาสรรค์, ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ อบจ.ขอนแก่น ร่วมเป็นเกียรติในพิธี


ดร.พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าการมีส่วนร่วมของประชาชน ถือเป็นหลักการสากลที่อารยประเทศให้ความสำคัญ และเป็นประเด็นหลักที่สังคมไทยให้ความสนใจเพื่อพัฒนาการเมืองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามหลักการ ธรรมมาภิบาลที่ภาครัฐจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ เพื่อสร้างความโปร่งใสและเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจของภาครัฐให้ดีขึ้น และเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุก ๆ ฝ่ายในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาไทย พ.ศ.2560พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย


หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 จึงต่างให้ความสำคัญต่อการบริหารราชการอย่างโปร่งใส สุจริต เปิดเผยข้อมูล และการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ การตัดสินใจทางการเมือง รวมถึงการตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐในทุกระดับ การเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนของสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมกับภาคราชการ
วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้ประชาชนเกิดความผูกพัน รู้สึกรักและมีจิตสำนึกเป็นเจ้าของท้องถิ่นของตนเอง ตลอดจนเพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยและประโยชน์ที่ได้รับจากการมีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะของท้องถิ่น อีกทั้งเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมเสนอปัญหาและความต้องการของประชาชน ตลอดจนกำหนดแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ตามหลักประชาธิปไตย อีกทั้งเพื่อให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สามารถนำปัญหาและความต้องการของประชาชนมาวิเคราะห์และปรับปรุงแผนงานให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้มีการบริหารงานด้วยความโปร่งใส มีแผนพัฒนาท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนได้ตรงจุด ตรงกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ภายใต้การบริหารงานงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด และมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ และ เพื่อรายงานผลการดำเนินในปีที่ผ่านมาให้ประชาชนได้รับทราบ.



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น