ขอนแก่นจัดแข่งขัน CPR Challenge : You can be a Hero

วันที่ 7 สิงหาคม 2561 จังหวัดขอนแก่นร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลขอนแก่น   สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และเครือข่ายภาครัฐและเอกชน จัดแข่งขัน CPR Challenge : You can be a Hero ณ ขอนแก่นฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น โดยมี นายสมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นเป็นประธานเปิดงาน นพ.พีระ อารีรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นและ น.พ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น กล่าวว่า รพ.ขอนแก่น ได้จัดกิจกรรมกอล์ฟการกุศล และได้รับเงินบริจาคทั้งสิน 1,511,890 บาท เพื่อจัดซื้อเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (AED)     กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย กิจกรรมการแข่งขัน CPR Challenge  โดยมีนักเรียน นักศึกษาและประชาชนในจังหวัดขอนแก่นจำนวนประมาณ 1,000 คน เข้าร่วมงาน   และเปิดตลาดนัดสุขภาพ “ทักษะชีวิตเพื่อก้าวสู่ Smart City” สำหรับประชาชน เพื่อให้ มีความรู้และทักษะในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติได้อย่างถูกต้อง และเป็นการสร้างจิตสำนึก การช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล ให้กับประชาชนจังหวัดขอนแก่น    โดยจังหวัดขอนนแก่นวางแผนการพัฒนาความรู้เรื่อง CPR ในจังหวัด   โดยตั้งเป้าหมาย ภายใน 5 ปีข้างหน้า ประชาชนคนขอนแก่น จะมีความรู้เรื่อง CPR และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติได้ ร้อยละ 5 ของจำนวนประชากรทั้งจังหวัด  ในงานมีการมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ซึ่งได้รับการบริจาคทั้งสิ้น 1,511,890 บาท  ในการจัดซื้อจำนวน 25 เครื่อง  และมีการมอบรถพยาบาลมาตรฐานความปลอดภัย (Safety Ambulance) โดย บริษัท ขอนแก่นแหอวนจำกัด และมอบเงินจำนวน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน)

ทางด้านนายสมศักดิ์  จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ขอนแก่นเป็นจังหวัดมีความเจริญก้าวหน้าในด้านเศรษฐกิจ สังคม และเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในภาคอีสาน ทำให้หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ตระหนักถึงการเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลากับทุกคนในพื้นที่ ดังนั้นขอนแก่นจึงเป็นจังหวัดที่จำเป็นมีเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (AED) ติดตั้งในที่สาธารณะ และสถานที่ราชการหลายแห่งในจังหวัด รวมถึงรถพยาบาลของหน่วยปฏิบัติการในระบบการแพทย์ฉุกเฉินอีกประมาณ 200 กว่าจุด   เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านหัวใจเต้นผิดจังหวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น