ป.ป.ช.ภาค 4 แถลง ผลการดำเนินงานปราบปรามการทุจริต ครบรอบ 1 ปี

ป.ป.ช.ภาค 4 แถลง ผลการดำเนินงานปราบปรามการทุจริต ครบรอบ 1 ปี
วันที่ 12 กันยายน 2561  ที่ โรงแรมเดอะคอนวีเนี่ยน อ.เมือง จ.ขอนแก่น นายอุดมศักดิ์ ดุลยประพันธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป.ป.ช.ภาค 4 ได้แถลงผลการดำเนินงาน ตามโครงการผลิตสื่อการประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างกระแสต่อต้านการทุจริต ของสำนักงาน ป.ป.ช.ภาค 4 มีหน้าที่กำกับดูแล และช่วยสนับสนุนการดำเนินงาน ของสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดในเขตพื้นที่ภาค 4 จำนวน 12 จังหวัด โดยมีสื่อมวลชน ทุกสาขา จำนวน 40 คนร่วมรับฟัง
นายอุดมศักดิ์ ดุลยประพันธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป.ป.ช.ภาค 4 กล่าวว่า สำนักงาน ป.ป.ช.ภาค 4 และสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดเขตพื้นที่ 4 มีจำนวนคดีทุจริต โดยแบ่งเป็น 1.เรื่องไต่สวนข้อเท็จจริงดังนี้ เรื่องแสวงหาข้อเท็จจริงสะสม2,258 เรื่องดำเนินการแก้ไขเสร็จแล้ว 464 เรื่อง ร้อยละ 20.54 รอเข้าเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช .281เรื่อง ร้อยละ 12.44 รอเข้าอนุกรรมการกลั่นกรองฯ 344 เรื่อง ร้อยละ 15.25 อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล 1,169เรื่อง ร้อยละ 51.77 เรื่อง 2.เรื่องไต่สวนข้อเท็จจริงสะสม 326 เรื่อง ดำเนินการเสร็จแล้ว(ออกเลขแดง) 18 เรื่อง ร้อยละ 5.52 รอเข้าเสนอแนะ กรรมการป.ป.ช.26 ร้อยละ 7.98 อยู่ระหว่างรวบรวมการดำเนินงาน 282 เรื่องร้อยละ 86.5
นายอุดมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า เป้าหมายเป้าหมายของงานป้องกันการทุจริตสำนักงาน ป.ป.ชภาค 4 คือการเตรียมการเพื่อจัดทำมาตรการป้องกันการทุจริตในระดับภูมิภาค เพื่อนำไปสู่การยกระดับค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI)ของประเทศไทยให้สูงกว่าร้อยละ 50 ของยุทธศาสตร์ชาติระยะที่ 3 ทางนี้ค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI)ในปี 2560 ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ 37 คะแนน จาก100จากคะแนนเต็ม เพิ่มขึ้นจาก 35 คะแนนในปี 2559 อยู่อันดับ 96 จาก180 ประเทศทั่วโลก ซึ่งถือว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการดำเนินการต่อจากนี้จึงมุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกในลักษณะป้องปรามมากยิ่งขึ้น โดยการใช้ฐานข้อมูลคดีปราบปรามการทุจริตมาเป็นฐานในการวางมาตรการป้องกันการทุจริตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นายอุดมศักดิ์ กล่าวชี้แจงว่า ในส่วนของคดีทุจริตของจังหวัดอื่นๆยังไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อผู้บริหารข้าราชการและผู้ร่วมกระทำความผิดได้ เนื่องจากมติคณะกรรมการ ป.ป.ช.ว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลซึ่งคดีที่มีการชี้มูล อยู่ระหว่างส่งเอกสารรายงานให้กับผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ หรือผู้บังคับบัญชา เพื่อลงโทษทางวินัย หรืออัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีอาญา แต่ทั้งนี้คดีทุจริตที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทุจริต การจัดซื้อจัดจ้าง การรับเงินโบนัส การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นพนักงานของรัฐเป็นต้น
นายอุดมศักดิ์ กล่าวอีกว่าทั้งนี้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตไม่อาจสำเร็จได้ด้วยการดำเนินการของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งแต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนภาคประชาสังคมรวมถึงภาคส่วนในการบูรณาการทำงานเพื่อสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตดังภาษาไทยที่ว่า”ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต”รวมทั้งมีการกำหนดแนวทางและกลไกในการดำเนินงานที่ชัดเจนตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาการทุจริตได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้ภาพรวมเกี่ยวกับสถานะการณ์การทุจริตในประเทศไทยลดลง



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น