มข.ชู 2 นวัตกรรมสุดล้ำ ลดผลกระทบมลภาวะสิ่งแวดล้อม ต่อสุขภาพคนไทย

มข.ชู 2 นวัตกรรมสุดล้ำ ลดผลกระทบมลภาวะสิ่งแวดล้อม ต่อสุขภาพคนไทย
มข. สร้างเซนเซอร์ตรวจฝุ่นในอากาศ และ โดรนตรวจสอบคุณภาพน้ำ โครงการนวัตกรรมเพื่อเฝ้าระวังและลดผลกระทบของมลภาวะสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ
14 มีนาคม พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดงานนักวิจัยพบสื่อมวลชน ภายใต้ “โครงการนวัตกรรมเพื่อเฝ้าระวังและลดผลกระทบของมลภาวะสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ” โดยได้รับเกียรติจาก นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธี และมีรศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยกุล รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าว
รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยกุล รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นม นวัตกรรมด้วยงานวิจัย สู่สังคม ได้แก่ นวัตกรรม เซนเซอร์ตรวจสอบฝุ่น PM 2.5 และนวัตกรรมโดรน หรืออากาศยานไร้คนขับ ตรวจสอบสภาพแหล่งน้ำ ภายใต้โครงการ โครงการนวัตกรรมเพื่อเฝ้าระวังและลดผลกระทบของมลภาวะสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ ซึ่งจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวอีสานและชาวไทยได้อย่างยั่งยืน
นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวเปิดงาน จังหวัดขอนแก่นมุ่งผลักดันสู่ Smart City และตั้งเป้าหมายก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาล (Medical Hub) ที่ทันสมัย ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมร่วมกับจังหวัดอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น Smart energy ใช้พลังงานอย่างอัจฉริยะ Smart environment ใส่ใจสิ่งแวดล้อมนำไปสู่ Smart Health
รศ.พญ.ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย หัวหน้าโครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าว่าโครงการนวัตกรรมเพื่อเฝ้าระวังและลดผลกระทบของมลภาวะสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ ได้ร่วมมือกับรัฐบาล จัดตั้ง “โครงการนวัตกรรมเพื่อเฝ้าระวังและลดผลกระทบของมลภาวะสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ” ภายใต้โครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือ CKDNET โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และสร้างนวัตกรรมแก้ไขปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ รวมทั้งบำบัดตัวกลางทางธรรมชาติ
ดร. ชวิศ ศรีจันทร์ อาจารย์ประจำ คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้พัฒนาการเชื่อมต่อระบบเซนเซอร์ที่วัดดัชนีคุณภาพอากาศ และปริมาณฝุ่นละอองฝอย (pm1, 2.5 และ 10) ที่แสดงผลแบบเรียลไทม์ในแอพพลิเคชั่น โดยมีทั้งรูปแบบที่แสดงค่าในมือถือของผู้ที่พกพาเซนเซอร์ และรูปแบบที่ติดตั้งบนรถสาธารณะและอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ทำให้ทราบค่าดัชนีคุณภาพอากาศและฝุ่นละอองฝอย ในตำแหน่งที่รถหรือโดรนเคลื่อนผ่าน ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ทดลองติดตั้งเซนเซอร์ที่รถบัสสาธารณะในมหาวิทยาลัยขอนแก่น และประมวลผลเป็นภาพรวม



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น