สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มข.เปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 16

สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มข.เปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 16

สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา ศูนย์ความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สมาคมคณิตศาสตรศึกษา มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด และ มูลนิธิพุทธรักษา ร่วมจัดการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 16 (The 16th National Open Class) ระหว่างวันที่ 18-19 มีนาคม 2566


.วันที่ 18 มีนาคม 2566 ที่ชั้น 2 ห้องประชุม 2201สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ท่านทูตสุรพล เพชรวรา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิด “การเปิดชั้นเรียนระดับชาติ (National Open Class) ครั้งที่ 16” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดารองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ,รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี  อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ผู้บริหาร ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อมลวรรณ  วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา , Mr. Masahiro Oji (หน่วยงานจากญี่ปุ่น ),ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาครู ,คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ร่วมในการเปิด ตลอดจน ขึ้นปาฐกถา และร่วมรับฟัง


ท่านทูตสุรพล เพชรวรา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ในฐานะอุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น และที่ปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ตนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติให้มาเป็นประธานในพิธีเปิด “การเปิดชั้นเรียนระดับชาติ (National Open Class) ครั้งที่ 16″ ในวันนี้จากคำกล่าวรายงานของท่านรองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาท
สำคัญของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ในการเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ ที่เน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ” Lesson Study and Open Approach ” จนกลายเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา ที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ จนกระทั่งสถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งชาติ (NITS) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศต้นแบบ
นวัตกรรมมาเข้าร่วมงาน พร้อมๆ กับหน่วยงานหลักทางการศึกษาของประเทศ ทั้ง คุรุสภา และ สคบศ. ได้ร่วมในการขยายผลการใช้นวัตกรรมทั่วประเทศ
ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ได้ทราบว่านวัตกรรม TLSOA (Thailand Lesson Study incorporated Open Approach เน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยเน้นการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนในชั้นเรียน และมีเครื่องมือที่สำคัญคือ “การเปิดชั้นเรียน (Open Class)” ยิ่งทำให้เห็นความสำคัญยิ่งขึ้นไปอีกว่า ไม่ใช่เป็นเพียงแค่กิจกรรมแต่เป็น แนวคิดเชิงนวัตกรรมในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบใหม่ ที่ทุกคนเรียนรู้ร่วมกัน (Learning together) ในชั้นเรียนสด (Live Clasroom) กล่าวคือ นักเรียนเรียนรู้ร่วมกันในสถานการณ์ปัญหาเดียวกัน ครู เรียนรู้ร่วมกันที่จะเข้าใจนักเรียน ผ่านการร่วมมือกันแก้ปัญหา เป็นต้น
การที่กิจกรรมการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ดำเนินการมากว่า 15 ปี จนถึงครั้งนี้ซึ่งเป็นครั้งที่ 16ดำเนินการมาทั้งในรูปแบบ On-site อย่างเดียว รูปแบบ Online อย่างเดียว จนกระทั่งเป็น Hybrid ที่มีคนเข้า ร่วมกว่า 1000 คน ทั้งในและต่างประเทศ ในปีนี้ จึงแสดงถึงความยั่งยืนของกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน
ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ในนาม รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่กำกับดูแลสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครู สำหรับอาเซียน ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับทุกท่าน เข้าสู่ “การเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 16 (The 16″ National Open Class)” ในครั้งนี้ตามที่ทุกท่านรับทราบแล้วว่า การเปิดชั้นเรียนระดับซาติ ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 18 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในรูปแบบไฮบริด (Hybrid) ผ่านระบบออนไลน์:www.openclassthailand.com และ on-site ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น นับเป็นการขับเคลื่อนโครงการ หรือกิจกรรม บริการวิชาการในหลายหลายรูปแบบที่คำนึงถึงการก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัสในยุคปัจจุบันซึ่งชี้ให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้และมุ่งเน้นการพัฒนาโรงเรียนควบคู่กับการพัฒนาครู โดยการพัฒนา Platform ต่าง ๆ ในการสนับสนุน การเรียนรู้แบบออนไลน์ และรูปแบบอื่นๆโดยใช้ Disruptive technologies
ทั้งนี้ จากที่ท่านรองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ ได้กล่าวรายงานไปแล้วว่า
การเปิดชั้นเรียนระดับชาติในครั้งนี้ จะเป็นเวทีให้ผู้เข้ามาร่วมได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแชร์
ประสบการณ์ร่วมกัน เกี่ยวกับ กระบวนการในการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อยกระดับคุณภาพชั้นเรียน โดยการนำเอานวัตกรรม Lesson Study “การศึกษาชั้นเรียน” ซึ่งเป็นนวัตกรรมร่วมกับโครงการ APEC Lesson Study ที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัย Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น และกลุ่มเครือข่ายเศรษฐกิจ มาตลอด 16 ปี ซึ่งนับเป็นเป็นแนวคิดใหม่ที่ส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษา โดยมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาวิธีการสอนด้วยการสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ยั่งยืน
ส่วนรองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวต้อนรับว่า ในฐานะที่เป็นผู้อนุมัติให้เกิดกลุ่มวิจัยด้านคณิตศาสตรศึกษาเมื่อปี 2546 และจัดตั้งศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษาในปี 2547 ยกระดับขึ้นเป็นคลัสเตอร์วิจัย เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระหว่างปี 2553 – 2556 และจัดสรรงบประมาณแผ่นดินสนับสนุนโครงการพัฒนาการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในระหว่างปี 2557 – 2561พร้อมทั้งเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อจัดตั้งเป็น สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียนในปี 2557 รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นทั้งการเจริญเติบโตและก้าวหน้าของสถาบันฯ จากความพยายามในการใช้การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม Lesson study และ Open Approach อย่างต่อเนื่องตลอด 20 ปีที่ผ่านมา จนกลายเป็นโมเดลเชิงนวัดกรรมของประเทศไทย ที่นอกจากจะเป็นการพัฒนาวิชาชีพครูแบบใหม่แล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ผมเองได้ร่วมเดินทางกับอาจารย์ไมตรี หลายพื้นที่ทั้งในประเทศและ
ประเทศญี่ปุ่น ประเทศต้นแบบนวัตกรรมดังกล่าว ได้เห็นการเปิดชั้นเรียนในประเทศญี่ปุ่นหลายครั้งและฝันอยากเห็นเกิดขึ้นในประเทศ นอกจากการสนับสนุนงบประมาณแล้ว ยังสนับสนุนการแชร์ประสบการณ์ใน APECS Lesson Study พยายามเสนอแนวคิดในกรรมาธิการการศึกษาของสภานิติบัญญัติ จนกระทั่งวันนี้ ฝันที่ผมอยากเห็นก็เป็นจริง การเปิดชั้นเรียน 9 ชั้นเรียนในทุกวิชา เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยมีพยาน มาจาก NITS สถาบันพัฒนาครู และบุคลากรทางการ
ศึกษาแห่งชาติของญี่ปุ่น คุรุสภา และสคบศ.
ขอต้อนรับทุกท่านพร้อมแสดงความยินดีกับประเทศไทย ที่ในที่สุดการขับเคลื่อนการ
ปฏิรูปการศึกษาของประเทศที่พยายามกันมาตั้งแต่ พ.ศ.2542 ก็มีความยั่งยืน หลักฐานจากการเปิดชั้นเรียนครั้งที่ 16 ในครั้งนี้ ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการเรียนรู้ร่วมกัน
สุดท้าย รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดี ฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเชียน กล่าวรายงานว่าในนาม รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิซาการ และ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต้องขอขอบคุณท่านประธานเป็นอย่างสูงที่กรุณาสละเวลามาเป็นประธานในการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 16 ในวันนี้และขอขอบคุณ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ท่านอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และอุปนายกสภามหาวิทยาลัยเทศโนโลยีราชมงคลล้านนา ท่านเลขาธิการและรองเลขาธิการจากคุรุสภา ท่านผู้อำนวยการ สคบศ. Mr. Masahiro Ooji and the team จากสถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งชาติ (NITS) จากประเทศญี่ปุ่น ที่ให้เกียรติมาเข้าร่วมในพีธีเปิดและกิจกรรมในครั้งนี้การเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 16 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2566 ในรูปแบบไฮบริด (Hybrid) โดยความร่วมมือระหว่าง1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ, สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครู
สำหรับอาเซียน, ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา
2. ศูนย์ความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์สมาคมคณิตศาสตรศึกษามูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด มูลนิธิพุทธรักษา
6. และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษากิจกรรม National Open Class เป็นกิจกรรมประจำปีที่ดำเนินการมาเป็นปีที่ 16 แล้ว โดยคำว่าOpen Class ในภาษาไทยใช้คำว่า “เปิดชั้นเรียน” ถือเป็นแนวคิดเชิงนวัตกรรมในเชิงกระบวนการของการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อยกระดับคุณภาพชั้นเรียน โดยการนำเอานวัดกรรม Lesson Study “การศึกษาชั้นเรียน” ซึ่งเป็นนวัตกรรมร่วมกับโครงการ APEC Lesson Study ที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัย Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น และกลุ่มทางการศึกษาเครือข่ายเศรษฐกิจ มาตลอด 16 ปี
การเปิดชั้นเรียน ไม่ใช่เทคนิคเป็นการบริหาร
การเปิดชั้นเรียน-ไม่ใช่เทคนิคหรือวิธีการสอนที่แค่รูผู้สอนขับเคลื่อมชั้นเรียนเองแค่เพียงผู้เดียว แค่สาระวิชาหรือระดับชั้นอื่นศึกษานิเทศก์ หรือใครก็ได้ที่มีทัศนคติที่จะร่วมกันยกระดับคุณภาพชั้นเรียน ได้มาเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อทำความเข้าใจความชับซ้อนของชั้นเรียนและวิธีการแก้ปัญหาของนักเรียน เพื่อที่จะเข้าใจนักเรียนมากขึ้น.

 



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น