จังหวัดขอนแก่น มอบรถแทรกเตอร์ ให้กลุ่มเกษตรกร เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิ

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560  ที่สนามหน้าศาลากลาง จังหวัดขอนแก่น  สำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่น จัดพิธีมอบเครื่องจักรกลการเกษตร ตามโครงการพัฒนาคุณภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพสูงครบวงจร  ทั้งนี้จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ทำการเกษตร 4.2 ล้านไร่ โดยแบ่งพื้นที่ตามชนิดพืชที่ปลูก ได้แก่ พื้นที่นา  2.49 ล้านไร่  อ้อยโรงงาน 9.4 แสนไร่  มันสำปะหลัง  2.3 แสนไร่  ยางพารา 0.99 แสนไร่  และอื่นๆประมาณ 4.7 แสนไร่       จังหวัดขอนแก่น ได้ดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาด้านการเกษตรตามยุทธศาสตร์ชาติ   ปี 2560-2579  โดยมีเป้าหมายให้เกษตรกรมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การช่วยเหลือให้เกษตรกรเข้าถึงปัจจัยการผลิตและสินเชื่ออย่างทั่วถึง  การร่วมกลุ่มเพื่อผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการเพิ่มองค์ความรู้ สนับสนุนปัจจัยการผลิต และเครื่องจักรกล  การเกษตร  ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต  ซึ่งเกษตรกรยังประสบปัญหาการขาดแรงงานและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

จังหวัดขอนแก่นจึงกำหนดให้มีโครงการพัฒนาคุณภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าข้าวหอมมะลิคุณภาพสูงครบวงจร  เพื่อสนับสนุนปัจจัยการผลิตองค์ความรู้และเครื่องจักรกลการเกษตร  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรเพื่อแก้ปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น  โครงการนี้  ดำเนินการใน 13  อำเภอ  จำนวน 20 กลุ่ม  ได้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน  11  กลุ่ม  และกลุ่มสหกรณ์  9  กลุ่ม  เกษตรกร 4,000  ครอบครัว  การจัดงานให้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกรแกนนำ  จำนวน  300 คน          เพื่อถ่ายทอดบรรยายระบบการทำงาน  การดูแลรักษา  ระบบต่างๆ ของรถฟาร์มแทรกเตอร์ตลอดจนการใช้งาน   การปรับตั้งอุปกรณ์ต่อพวง  พร้อมรับมอบเครื่องจักรกลการเกษตร (รถฟาร์มแทรกเตอร์)  จำนวน  15  คัน  แก่เกษตรกรแกนนำและได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจาก บริษัท เอ็น อี อกรีเทค จำกัด  ในการถ่ายทอดและฝึกปฎิบัติจริงในพื้นที่

โครงการพัฒนาคุณภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าข้าวหอมมะลิคุณภาพสูงครบวงจร  เพื่อสนับสนุนปัจจัยการผลิตองค์ความรู้และเครื่องจักรกลการเกษตร  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรเพื่อแก้ปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น  โครงการนี้  ดำเนินการใน 13  อำเภอ  จำนวน 20 กลุ่ม  ได้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน  11  กลุ่ม  และกลุ่มสหกรณ์  9  กลุ่ม  เกษตรกร 4,000  ครอบครัว

 



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น