“อำเภอน้ำพอง ขอนแก่น” ก่อสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ ลำห้วยยาง แก้ปัญหาภัยแล้ง ที่บ้านคำแก่นคูณ

“อำเภอน้ำพอง ขอนแก่น” ก่อสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ ลำห้วยยาง แก้ปัญหาภัยแล้ง ที่บ้านคำแก่นคูณ

การก่อสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ ลำห้วยยาง (แห่งที่ 3/2567) บ้านคำแก่นคูณ ม. 12 ตำบลม่วงหวาน ขนาด ยาว 8 เมตร สูง 2 เมตร สันฝาย 3.6 เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 25,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง เพราแหล่งน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญ อันน่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการแหล่งน้ำชุมชนขนาดเล็กในอนาคต


เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น รายงานว่า นายกรชวาลวิชญ์ ชัยพีรวัส นายอำเภอน้ำพอง พร้อมด้วย นายอดิศักดิ์ กิตติปัญญาศิริ ปลัดอำเภอ หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง ลงพื้นที่ดำเนินการก่อสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ ลำห้วยยาง (แห่งที่ 3/2567) บ้านคำแก่นคูณ ม. 12 ตำบลม่วงหวาน ขนาด ยาว 8 เมตร สูง 2 เมตร สันฝาย 3.6 เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 25,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเป็นนโยบายของจังหวัดขอนแก่นในการป้องกันปัญหาภัยแล้ง ได้รับงบประมาณจากโรงงานภาคเอกชนในพื้นที่ โดยใช้ความสามัคคี ร่วมแรง ร่วมใจจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตำบลน้ำพอง ประชาชนจิตอาสา นายกเทศมนตรีตำบลม่วงหวาน ผู้บริหาร สมาชิกสภา ทต.ม่วงหวาน กองช่าง ทต.ม่วงหวาน ซึ่งใช้เวลาก่อสร้าง 3 วัน


นายกรชวาลวิชญ์ ชัยพีรวัส นายอำเภอน้ำพอง กล่าวว่าการก่อสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ ลำห้วยยาง (แห่งที่ 3/2567) บ้านคำแก่นคูณ ม. 12 ตำบลม่วงหวาน ขนาด ยาว 8 เมตร สูง 2 เมตร สันฝาย 3.6 เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 25,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง เพราแหล่งน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญ อันน่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการแหล่งน้ำชุมชนขนาดเล็กในอนาคต
สำหรับฝายแกนดินซีเมนต์ นับเป็นฝายชะลอน้ำแบบชั่วคราวประเภทหนึ่ง เพราะไม่มีโครงสร้างเหล็ก หิน และคอนกรีตเป็นส่วนประกอบแต่อย่างใด วัสดุหลักที่ใช้คือดินในบริเวณนั้น นำมาผสมกับปูนปอร์ตแลนด์ ประมาณ 10-30 ต่อ 1 ส่วน จนทำให้กลายเป็นดินดานเทียม นำมาใช้ทำเป็นฝายกั้นลำน้ำขนาดความกว้างในระดับ 20-100 เมตร โดยขุดแกนฝายและหูฝายสองข้างให้ลึกลงไปต่ำกว่าท้องธาร 4 เมตร วัตถุประสงค์เพื่อกักสายน้ำใต้ดิน ส่วนความสูงของฝายจะไม่ให้เกิน 2 เมตร ไม่โลภมากที่กักน้ำไว้เยอะเกินจำเป็น ปล่อยให้ส่วนที่เกินจากนั้นไหลข้ามไปได้ ลดแรงปะทะจึงคงทน ลดตะกอนทรายหน้าฝายจึงไม่ตื้นเขินง่าย ทำให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ในลำธารเดิมได้ตามธรรมชาติ.



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น