กฟผ. มอบเวชภัณฑ์ ทางการแพทย์ ให้โรงพยาบาลใน จ.ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย

กฟผ. เสริมความแกร่งทีมแพทย์สู้โควิด มอบเวชภัณฑ์
ทางการแพทย์ ให้โรงพยาบาลใน จ.ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มอบเวชภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อต้านภัยโควิด 19 ให้ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น คือ หมวกป้องกันเชื้อ PAPR จำนวน 5 ชุด, ถุงมือ 2,000 คู่, หมวกคลุมผม 50 กล่อง, แอลกอฮอล์ 5 แกลลอล รวม 20 ลิตร, ถุงสวมเท้า 60 คู่ และ หน้ากากอนามัย 2,000 ชิ้น, น้ำดื่ม “น้ำใจ กฟผ.” จำนวน 100 โหล โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.ทรงศักดิ์ เกียรติชูสกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เป็นผู้แทนรับ

ทั้งนี้ มี นายไวฑูรย์ เกียรติเฉลิมคุณ ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าน้ำพอง ,นายเกษม ปิดสายะตัง ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าน้ำพอง, นายประสิทธิ์ อุปชิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ,นายธนภัทร ฉัตรสุวรรณ วิศวกรระดับ 11 อฟอ, นายอธิศักดิ์ ภิรมย์ไกรภักดิ์ วิศวกรระดับ 11 ฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะ ร่วมในการมอบครั้งนี้

ต่อมาในวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. มอบหมวกป้องกันเชื้อ PAPR จำนวน 5 ชุดให้ โรงพยาบาลอุดรธานี โดยมี พญ.ฤทัย วรรธนวินิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุดรธานี เป็นผู้แทนรับ และมอบหมวกป้องกันเชื้อ PAPR ให้โรงพยาบาลพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย จำนวน 5 ชุด โดยมี นพ.วัฒนา พารีศรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ เป็นผู้แทนรับ

พร้อมกันนี้ได้ มอบเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ประกอบด้วย ถุงมือ 1,000 คู่, หมวก 1,000 ชิ้น, หน้ากากอนามัย 2,000 ชิ้น, เสื้อกาวน์กันน้ำ 100 ตัว และถุงสวมเท้า 60 คู่ และ น้ำดื่ม “น้ำใจ กฟผ.” จำนวน 200 โหล ให้ทั้ง 2 โรงพยาบาลด้วย โดยมี นายอธิศักดิ์ ภิรมย์ไกรภักดิ์ วิศวกรระดับ 11 ฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะ ร่วมในการมอบครั้งนี้

ทั้งนี้ โรงพยาบาลทั้ง 3 แห่ง ได้ขอความอนุเคราะห์จาก กฟผ. ในการสนับสนุนเพื่อใช้ปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจรักษาและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ซึ่งจะทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีความสะดวกและปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่มากยิ่งขึ้น

ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. เปิดเผยว่า กฟผ. ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างใกล้ชิด ดังนั้น เพื่อให้ทีมแพทย์ด่านหน้าปลอดภัยและมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น กฟผ. จึงใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญของทีมช่างอาสา ที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ในการผลิตหมวกป้องกันเชื้อ PAPR (Powered Air Purifying Respirator) โดยผลิตในห้อง Clean Room เพื่อควบคุมความสะอาดตลอดขั้นตอนการผลิต มีการทดสอบให้ได้มาตรฐาน พร้อมบรรจุลงกล่องแยกชิ้นก่อนส่งมอบ จึงมั่นใจได้ว่าหมวกทุกใบสะอาดปราศจากสิ่งปนเปื้อน 100%

โดยหมวกมีน้ำหนักเบา ใช้งานได้คล่องตัว มีแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพใช้งานต่อเนื่องสูงสุด 8 ชั่วโมง ซึ่งมีบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับมอบและทดลองใช้งาน พบว่าสามารถสื่อสารระหว่างทีมแพทย์ได้ชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากหมวกมีพัดลมมอเตอร์ที่ปรับระดับเสียงและควบคุมความเร็วลมได้ด้วยตัวเอง รวมถึงมีการไหลเวียนของอากาศได้เป็นอย่างดี ทำให้ไม่รู้สึกร้อนและไม่อึดอัด ทั้งนี้ กฟผ. มีแผนการผลิตให้ได้ตามเป้าหมาย 500 ใบส่งมอบให้โรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศเพื่อใช้งานต่อไป



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น