ผู้ว่าฯขอนแก่น สั่ง! เตรียมพร้อม แก้สถานการณ์ ภัยแล้ง

ผู้ว่าฯขอนแก่น สั่ง! เตรียมพร้อม แก้สถานการณ์ ภัยแล้ง

ผู้ว่าฯขอนแก่น สั่งการ! นำผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้านชุมชน ของกรมโยธาฯ
มาแก้ปัญหาภัยแล้ง แบบบูรณาการ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องประชาชน
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2562 ผู้สื่อข่าวรายงาน การเตรียมความพร้อมในการแก้ สถานการณ์ภัยแล้ง เนื่องจากฝนทิ้งช่วง ว่า นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของจังหวัดขอนแก่นแบบบูรณาการ โดยการนำผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo-social Map) ของกรมโยธาธิการและผังเมือง มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการระบุพื้นที่ที่เกิดปัญหาภัยแล้ง กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาพื้นที่ขาดแคลนน้ำในระยะสั้น และเร่งกักเก็บน้ำเพื่อให้ทันในฤดูฝน พ.ศ. 2566


อาทิ การจัดหาแหล่งน้ำดิบเพื่อใช้ในการผลิตประปาหมู่บ้าน การขยายเขตประปาของการประปาส่วนภูมิภาค การผันน้ำชลประทาน เพื่อบรรเทาภัยแล้งให้โครงการเกษตรแปลงใหญ่ การขุดบ่อบาดาล การต่อท่อสูบน้ำจากแหล่งน้ำข้างเคียง การกำหนดแหล่งน้ำนอกเขตชลประทานที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำ และการขุดลอกแหล่งน้ำเพื่อเป็นแก้มลิงในฤดูฝน เป็นต้น โดยข้อมูลดังกล่าวจะใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของจังหวัดขอนแก่นแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2566 – 2570 ซึ่งเป็นแผนในระยะยาวต่อไป
ทั้งนี้ กรมโยธาธิการและผังเมือง โดยนายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง สั่งการเร่งขับเคลื่อนการจัดทำผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo-social Map) ทั่วประเทศ 76 จังหวัด เพื่อให้แต่ละหน่วยงานนำไปใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดโครงการและกิจกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนา แก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับพี่น้องประชาชน พัฒนาเครือข่ายการทำงานแบบบูรณาการของผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับผู้นำชุมชน ประชาชน และภาคีเครือข่าย


พร้อมทั้งได้กำชับให้สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดทุกจังหวัด นำแผนงานโครงการจากการจัดทำผังภูมิสังคม มาดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยอาศัยกลไกความร่วมมือการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชน และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดี Change for Good ในพื้นที่ทุกมิติ



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น