ซ้อมแผนเผชิญเหตุ ยิ่งสนั่น!กลาง ร.ร.ดังเมืองขอนแก่น

ซ้อมแผนเผชิญเหตุ ยิ่งสนั่น!กลาง ร.ร.ดังเมืองขอนแก่น

แตกตื่นกลางเมืองขอนแก่น หลัง เสียงปืนดัง หลาย10 นัด สร้างความตกใจให้กับ ผู้ปกครองที่กำลังมารับบุตรหลาน ตลอดจนนักเรียนที่กำลังที่จะเลิกเรียน ที่แท้เป็นการซ้อมแผนเผชิญเหตุ
วันนี้ 15 มิ.ย.66 ที่ บริเวณโรงเรียนสนามบิน เขตเทศบาลนครขอนแก่น นายธนวรรธน์ ธะนะคำมา ผู้อำนวยการโรงเรียนสนามบิน เป็นประธานจัดซ้อมแผนเผชิญเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน มีการใช้กระสุนเสียง จำลอง สถานการณ์ บทบาทสมมุติ โดยมี นางเจษฎาภรณ์ วงศ์ทรงยศ ปฏิบัติหน้าที่ผอ.กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สพป.ขอนแก่น เขต 1 ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ดร.อารยันต์ แสงนิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 เข้าร่วมสังเกตการณ์ในครั้งนี้ พร้อมด้วย น.ส.อินทุอร โค้งวังชัย,นางกุลปรียา กากแก้ว,นายอรรถพร จอมคำสิงห์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนสนามบิน ตลอดจนครูที่ปรึกษา และนักเรียนระดับชั้นป.5 และป .6 เข้าร่วมในพิธีเปิดและร่วม ซ้อมแผน ดังกล่าว ในการนี้ภายใต้การอำนวยการของ พ.ต.อ.ปรีชา เก่งสาริกิจ ผกก.สภ.เมืองขอนแก่น,พ.ต.ท.เมธี ศรีวันนา รอง ผกก.ปป. สภ.เมืองขอนแก่น มอบหมายให้ร.ต.อ.สุนทร ย่อยชา รองสารวัตรป้องกันและปราบปราม สภ. เมืองขอนแก่น เป็นวิทยากร ให้ความรู้ หนี,ซ่อน,สู้ เมื่อเผชิญเหตุ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองขอนแก่น ร่วมแสดง เหมือนการแสดงหนังย่อยๆเสมือนจริง
ร.ต.อ.สุนทร ย่อยชา รองสารวัตรป้องกันปราบปราม สภ เมืองขอนแก่น ทำหน้าที่เป็นวิทยากร กล่าวว่าทางโรงเรียนสนามบินจังหวัดขอนแก่นได้ทำหนังสือขอวิทยากรในการให้ความรู้ความเข้าใจในการซ้อมแผนเผชิญเหตุในครั้งนี้ ให้กับ ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากร คณะครู และ น้องๆเด็กนักเรียน พร้อมทั้งให้งบสนับสนุนในการเป็นวิทยากรในครั้งนี้ ซึ่งมาให้ความรู้น้องๆเด็กนักเรียนในเรื่องการป้องกันตัว การสู้ในสถานที่จริง แต่หลักการและระเบียบมีอยู่ว่า พร้อมที่จะสู้ทุกเมื่อ จากการใช้ประโยชน์ในการป้องกันเหตุได้ทุกที่


ด้าน นายธนวรรณ ธะนะคำมา ผู้อำนวยการโรงเรียนสนามบินขอนแก่น กล่าวว่า ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการ เตรียมความพร้อมในการเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2566 เรื่องมาตรการในการรักษาความปลอดภัย ในสถานศึกษาในช่วงเปิดภาคเรียนการศึกษาภาคเรียนที่ 1 ทางโรงเรียนได้ดำเนินการ ตามมาตรการ 2 เตรียม และ 2 ให้ ซึ่งประกอบไปด้วย การเตรียมความพร้อมด้านอาคาร สถานที่สำรวจจุดเหตุจุดอันตราย เพื่อแก้ปัญหาไม่ให้มีเหตุน้อยที่สุด เตรียมที่ 2 คือเตรียมด้านจัดการเรียนการสอน ให้พร้อมส่วนการเรียนการสอนให้ที่ 1 คือให้ความรู้กับนักเรียน เนื่องจากว่าในปีการศึกษาใหม่ นักเรียนที่เข้าใหม่อาจจะยังไม่รู้ สภาพของอาคารสถานที่ จึงจำเป็นต้องให้นักเรียนมีความรู้ ในการที่จะหนีได้อย่างปลอดภัย
นายธนวรรณ กล่าวอีกว่า สุดท้ายคือให้ประสานกับหน่วยงาน ในเรื่องของการดูแลความปลอดภัย ซึ่งทางโรงเรียนได้ประสาน กับทางสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองขอนแก่น โดยผู้กำกับฯได้ ให้ความกรุณา ในการฝึกซ้อมเผชิญเหตุในครั้งนี้ จากการที่เราได้ทราบข่าวจากสื่อมวลชนใน การก่อเหตุบุกยิง เด็กนักเรียน ในครั้งก่อนๆ ในเรื่องของความปลอดภัย ในสถานศึกษาก็ดี ปัญหาต่างๆในด้านความปลอดภัย ทางโรงเรียนเลยมีมาตรการในการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุในครั้งนี้ เพื่อไว้รับมือกับภาวะฉุกเฉินจะเกิดขึ้นในอนาคต
ส่วน ดร.อารยันต์ แสงนิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 กล่าวว่า ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีหนังสือขอความร่วมมือส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการทุกแห่ง แจ้งประชาสัมพันธ์สถานศึกษาในสังกัด สร้างการรับรู้แนวทางเปิดภาคเรียน


ที่ 1 ปีการศึกษา 2566 “2เตรียม 2ให้” เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากร ทางการศึกษาในสถานศึกษาปลอดภัย รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วยนั้น ในการนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ขอความร่วมมือโรงเรียนในสังกัดทุกโรงเรียนในสังกัดดำเนินการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้แนวทางเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 “6 เตรียม 2ให้” เพื่อให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียน นักศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ดร.อารยันต์ กล่าวเสริมว่า ด้วยการเตรียมความพร้อมของอาคารสถานที่ ระบบไฟฟ้า ประปา ปรับปรุงภูมิทัศน์ ขจัดจุดเสี่ยงให้มีจุดอันตรายในสถานศึกษาเตรียมความพร้อมด้านการเรียนการสอน สื่อ วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์กับนักเรียน นักศึกษาเข้าใหม่ได้เรียนรู้สภาพแวดล้อมในสถานศึกษา และอยู่อย่างให้ปลอดภัย ปลูกฝั่งความมีวินัย ระหนักต่อความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เมื่อคาดหรือเกิดความไม่ปลอดภัยจะใช้ระบบ MOE Safety Center ได้อย่างไร ตลอดจนให้ประสานงานหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย เช่น หน่วยงานด้านการสาธารณสุขในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานด้านการรักษาความปลอดภัย ฯลฯ เพื่อร่วมมือกัน สร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียน นักศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา เช่น การใช้รถใช้ถนน การตรวจคัดกรองสุขภาวะ และจิตใจ และการป้องกันตนเองจากโรคอุบัติใหม่ เป็นต้น .



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น