สสส.-สคอ.-สอจร. รวมพลังภาคีชูความสําเร็จ”พื้นที่ต้นแบบความปลอดภัยทางถนน” ชี้กลไก ศปถ.อําเภอ คือกลไกจัดการที่เห็นผลที่สุด

สสส.-สคอ.-สอจร. รวมพลังภาคีชูความสําเร็จ”พื้นที่ต้นแบบความปลอดภัยทางถนน”
ชี้กลไก ศปถ.อําเภอ คือกลไกจัดการที่เห็นผลที่สุด

3 ก.ค.2566 – ที่โรงแรมมันตราวารี อ.เมือง จ.ขอนแก่น สํานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ(สคอ.) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ร่วมกับแผนงานสนับสนุนการป้ องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.)และภาคีเครือข่ายจัดประชุมถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบเพื่อความปลอดภัยทางถนน เพือค้นหาปัจจัยความสําเร็จ
วิธีการแนวทางการทํางานเพื่อนําไปผลิตสื่อฯขยายผลความสําเร็จด้วยการสือสารประชาสัมพันธ์สร้างกระแสสู่สาธารณะ ทัวประเทศโดยมี นายแพทย์วีระพันธ์ุสุพรรณไชยมาตย์ ทีปรึกษาแผนงาน สอจร. เป็นประธานเปิดประชุม พร้อมด้วย นายแพทย์วิทยา ชาติบัญชาชัย ประธานแผนงาน สอจร. นางก่องกาญจน์ ทักษ์หิรัฐฤทธิ์ รักษาการผู้อํานวยการสํานักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสียงทางสังคม สสส. นายพรหมมินทร์ กัณธิยะผู้อํานวยการสํานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ และภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนน เข้าร่วมประชุมกว่า 30 คน

สัมภาษณ์ นายพรหมมินทร์ กัณธิยะผู้อํานวยการสํานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ

 

นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์
ทีปรึกษาแผนงานสนับสนุนการป้ องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) กล่าวว่าตามนโยบายศูนย์อํานวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.)
ที่มุ่งขับเคลือนดําเนินการป้ องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน มีเป้าหมายลดอัตราบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลงร้อยละ 50 ภายในปี 2564 ถึง 2573 ถือเป็นความท้าทายอย่างยิง ซึงต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วนขับเคลือนร่วมกัน โดยการนํานโยบายที่ได้สั่งการให้ทุกจังหวัดใช้กลไกของศูนย์อํานวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด ระดับอําเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิน นําไปขับเคลื่อนและกําหนดมาตรการแผนงานความปลอดภัยทางถนน. โดยเน้นพืนทีตําบลทีมีความเสียงสูง มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ติดตามอย่างต่อเนื่อง
จนนําไปสู่การลดการเสียชีวิตบนท้องถนนให้ได้มากที่สุด โดยในปี 2566
ศูนย์อํานวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ได้รายงานมีอําเภอเสี่ยงจากรถจักรยานยต์ทั่วประเทศ
แบ่งเป็นเสี่ยงสูงมาก 219 อําเภอ เสี่ยงสูง 221 อําเภอและเสี่ยงปานกลาง 219 อําเภอ
ซึ่งจังหวัดขอนแก่นมีพื้นที่เสี่ยงสูงมากอยู่ถึง 4 แห่ง คือ อําเภอเมือง อําเภอบ้านแฮด
อําเภอบ้านไผ่และอําเภอชุมแพ โดยทั้งหมดนี้ยังต้องทํางานเพื่อเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นต่อไป


แต่ในขณะเดียวกันจังหวัดขอนแก่น ได้มีความสําเร็จในงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนหลายแห่ง
จนสามารถเป็นพื้นที่ต้นแบบการทํางานให้กับหลายพื้นที่ มีการบูรณาการความร่วมมือกับหลายภาคส่วนแก้ไขป้องกันอุบติเหตุทางถนน มีการติดตั้งกล้อง CCTV ทั่วเมืองขอนแก่น บังคับกฎหมายที่เข้มข้นจริงจัง รวมถึงการผลักดันให้มีการนํา
“มาตรการองค์กร”ขับเคลื่อนในหน่วยงานเพื่อกํากับดูแลความปลอดภัยของบุคลากรในองค์กรแต่ละแห่ง
ให้มีพฤติกรรมการขับขี่ยานพาหนะที่ปลอดภัย เป็นต้น
นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ กล่าวว่า จากรายงานข้อมูลของ
เว็บไซต์ www.thairsc.com (ณ วันที่ 29 มิ.ย.2566 ) พบว่า สถิติอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยปี 2566 มีผู้เสียชีวิต สะสมจำนวน 7,387 ราย บาดเจ็บสะสม จำนวน 396,497 ราย สำหรับในจังหวัดขอนแก่น ปี 2566 มีผู้เสียชีวิตสะสม137 ราย บาดเจ็บสะสม 7, 1 1 1 ราย มีปริมาณรถจักรยานยนต์ 443,537คัน รถยนต์จำนวน 416,502 คันและมีอัตราการ เสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์ถึง 74 % และรถยนต์ 26 % จากข้อมูลดังกล่าวนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วม


แรง ร่วมใจกัน ในการสร้างความปลอดภัยทางถนให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เนื่องจากเรายังมีความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกและยังมีพื้นที่เสี่ยงสูงที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าค่าเฉลี่ยมากกว่า 200 อำเภอทั่วประเทศ
ต้นแบบที่ดี มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการนำไปเผยแพร่และใช้เป็นเครื่องมือประกอบการทำงาน โดยความร่วมมือจากเครือข่ายการทำงานที่เป็นส่วนสำคัญในการทำงานและขยายผลขับเคลื่อนนโยบาย มาตรการและลงมือปฏิบัติในพื้นที่รวมทั้งเครือข่ายสื่อมวลชน ที่จะนำข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่ได้จากการถอดบทเรียน ไปผยแพร่สู่ประชาชนและผู้ใช้รถใช้ถนนให้เกิดความตระหนัก รับรู้ และมีจิตสำนึกความปลอดภัย จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น