ทานตะวันบานเบ่งบาน ที่ “ร.ร.บ้านทุ่ม” Landmark แห่งใหม่ ของจ.ขอนแก่น

ทานตะวันบานเบ่งบาน ที่ “ร.ร.บ้านทุ่ม” Landmark แห่งใหม่ ของจ.ขอนแก่น

การปลูกทานตะวันได้อะไร ๆ มากกว่าที่คิด”ได้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการในการเพาะต้นกล้า วิธีการปลูก วิธีการดูแลบำรุงรักษา อย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้ได้ดอกที่สวยงาม ด้วยความสามัคคี มุ่งมั่นขยันอดทน และนักเรียนสามารถตัดสินใจเลือกสร้าง ออกแบบและทำผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับพืชดอกและทำให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน
เมื่อวันที่ 11 ก.พ 2567 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น ลงพื้นที่ บริเวณหน้าอาคารไตรสิกขา โรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุมประชานุเคราะห์) เลขที่ 366 หมู่ที่ 2 ต.บ้านทุ่ม อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น ได้รับความอนุเคราะห์จากนายสันติ มุ่งหมาย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุมประชานุเคราะห์) และนางสาวรติรัตน์ ชนะกาศรี รองผู้อำนวยการโรงเรียนฯ นำพาชมสถานที่กิจกรรม ทานตะวันบาน ที่บ้านทุ่ม ภายใต้หลักการแนวคิด “ปลูกเป็น เห็นคุณค่า บูรณาการ”ร่วมกันเรียนรู้ชีวิตและคุณค่าของดอกทานตะวัน ในโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์)
นายสันติ มุ่งหมาย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุมประชานุเคราะห์) เปิดเผยว่าผู้ร่วมกิจกรรมในการทุ่งทานตะวัน เป็นผลงานฝีมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีครูที่ปรึกษา นางพัชราพร ศิริพันธ์บุญ และ นางจามรี สุวรรณราช ซึ่งใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์ สถานที่คือ บริเวณหน้าอาคารไตรสิกขา โรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุมประชานุเคราะห์) เลขที่ 366 หมู่ที่ 2 ต.บ้านทุ่ม อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น


นายสันติ เปิดเผยด้วยว่าที่มาจากการประชุมสมาชิกกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กลุ่ม ป.3-4 A ที่ประชุมมีมติกำหนดหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ เรื่อง “ทานตะวันบาน ณ บ้านทุ่ม” เพื่อพัฒนาสถานที่ในโรงเรียนที่เป็นพื้นที่ว่างเปล่าจากการรื้อถอนอาคารไม้หลังเก่า ให้เป็นสถานที่ปลอดภัย ใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่าทั้งนักเรียน บุคลากร และชุมชน จึงได้จัดการเรียนการสอนบูรณาการวิทย์พลัง 10 และวิชาการงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับ Active Learning 6
นายสันติ เปิดเผยอีกว่าขั้นตอน ขึ้นวัตถุประสงค์1. เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้เชิงธรรมชาติในโรงเรียน 2. เพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติให้มีในชุมชน3. เพื่อจัดทำหลักสูตรบูรณาการเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก 4. เพื่อพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนทั้งด้านความสามารถในการคิด การแก้ปัญหา การสื่อสาร เทคโนโลยี และทักษะชีวิต หลักการแนวคิด โรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) ดำเนินการจัดทำกิจกรรม ทานตะวันบาน ที่บ้านทุ่ม ภายใต้หลักการแนวคิด ดังนี้ คือ “ปลูกเป็น เห็นคุณค่า บูรณาการ”ร่วมกันเรียนรู้ชีวิตและคุณค่าของดอกทานตะวัน ในโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์)


ครูที่ปรึกษา นางพัชราพร ศิริพันธ์บุญ และ นางจามรี สุวรรณราช ได้ร่วมกันเปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่าการ“ปลูกทานตะวันได้อะไร ๆ มากกว่าที่คิด”ได้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการในการเพาะต้นกล้า วิธีการปลูก วิธีการดูแลบำรุงรักษา อย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้ได้ดอกที่สวยงาม ด้วยความสามัคคี มุ่งมั่นขยันอดทน และนักเรียนสามารถตัดสินใจเลือกสร้าง ออกแบบและทำผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับพืชดอกและทำให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน รวมทั้งนำเสนอผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ในรูปแบบที่น่าสนใจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนในการได้กระบวนการคิดที่จะนำไปสู่การประกอบอาชีพได้.



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น