เที่ยว พระพุทธบาทภูชาติ ชัยภูมิ

พระพุทธบาทภูชาติ เป็นโบราณสถานเก่าแก่ทางพระพุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่ง ในอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ถือเป็น ศาสนสถาน ศักดิ์สิทธิ์ สำคัญที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองชัยภูมิ มานาน แต่อดีตซึ่งในครั้งเก่าก่อนเชื่อกันว่า ใครก็ตามที่จะมาถึงพระพุทธบาทภูชาติได้ ต้องเป็นผู้ที่มีบุญวาสนาจริงๆ เท่านั้น
พระพุทธบาทภูชาติ ประดิษฐานอยู่ในปริมณฑลเทือกเขาภูชาติ (ติดเขตป่าสงวนแห่งชาติ) ติดกับถนนชัยภูมิ-แก้งคร้อ เส้นทางหมายเลข 201 ในช่วงกิโลเมตรที่ 136-137 อยู่ทางทิศเหนือก่อนเข้าถึงจังหวัดชัยภูมิ ระยะทาง13 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ป่าเป็นลานหินหน่อ เป็นลานหินราบ จัดอยู่ในกลุ่มป่าเสื่อมโทรมคือป่าที่มีไม้มีค่าที่มีลักษณะสมบูรณ์เหลืออยู่บางส่วน ป่าเสื่อมโทรมในลักษณะนี้สามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบ คือ การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าเสื่อมสภาพโดยสิ้นเชิง และพัฒนาหน้าดินให้มีคุณภาพก่อนปลูกเสริมป่าในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่ยังมีศักยภาพที่จะฟื้นตัวเองตามธรรมชาติได้
พระพุทธบาทภูชาติ ในอดีตวัดแห่งนี้เป็นวัดร้าง แต่มักจะมีพระธุดงค์เดินทางมากปักกลดบำเพ็ญเพียรอยู่เสมอ เป็นพื้นที่วัดเก่าโบราณที่เคยรุ่งเรืองในอดีต แต่ก็มาร้างในยุคต่อมา ในพื้นที่ปริมณฑลดังกล่าวได้มีปูชนียวัตถุซึ่งร่องรอยความเจริญรุ่งเรือง เช่น มีรอยพระบาทไว้ควบคู่กับพระพุทธบาทแฝด ภูชาติ สระหงษ์ ภูพระ ภูพระ และภูโค้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอยพระพุทธบาทภูชาติ ผู้เฒ่าผู้แก่ในบริเวณแถบนี้ก็รู้กันว่ามีรอยพระบาทอยู่ภายในเทือกเขาภูชาติ แต่ก็ไม่ทราบว่าประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใด อีกทั้งมีการนำท่อนไม้ซุงมาปิดทับรอยพระบาทในช่วงเวลาหนึ่งจนเปื่อยผุพัง
    ที่น่าสนใจ ในบริเวณวัดพระพุทธบาทภูชาติแห่งนี้ ก็คือมีรูปลักษณะเหมือนรอยพระพุทธบาทจริง นอกจากนี้ยังมีพระพุทธบารมีสามัคคีธรรมชัยยะ ปูนปั้นสีขาวองค์ใหญ่ ประดิษฐานอยู่หน้าถ้ำ เป็นพระพุทธรูปเรืองแสง ให้ได้สักการะและสิ่งที่โดดเด่น สะดุดตาต่อผู้มาเยือนแล้ว ยังสามารถชื่นชมกับวิวทิวทัศน์ที่อยู่บริเวณวัดได้โดยรอบ
   พระพุทธบาทภูชาติถือว่าเป็นที่สัปปายะไม่ใกล้และไม่ไกลจากตัวเมืองชัยภูมินัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คือถ้ำเกิ้ง เมื่อพิจารณาจากสภาพทางภูมิศาสตร์แล้ว เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมที่จะบำเพ็ญบารมีธรรมปฏิบัติให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป ทั้งยังเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมที่จะก่อตั้งเป็นวัดถาวรต่อไปในอนาคต จึงตัดสินใจอย่างแน่วแน่ที่จะเลือกสร้างสถานที่แห่งนี้ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559 จึงได้เข้ามาดำเนินการเข้ามาพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ เพื่อช่วยป้องกันการบุกรุกและทำลายป่าให้คงสภาพอุดมสมบูรณ์ต่อไป



เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น